Quantcast
Channel: ที่ ปรึกษา กฎหมาย ทนายความ สำนักงาน กฎหมาย กฎหมาย ในชีวิตประจำวัน กฎหมายคืออะไร ที่นี่มีคำตอบ

กฎหมายลักษณะยืม (กู้ยืม ยืมใช้สิ้นเปลือง )มาตรา 653

$
0
0

  สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่านที่เคารพครับ ตั้งแต่ต้นปีนี้ไปผมจะเริ่มเขียนบล็อกแล้ว เพราะช่วงนี้พอมีเวลาบ้างจึงอยากเป็นส่วนหนึ่งในการให้ความรู้กฎหมายแก่ผู้สนใจทุกท่านที่ชอบและแสวงหาความรู้ใส่ตัวตลอดเวลา  ในการดำรงชีวิตของมนุษย์นั้นยากลำบาก บางคนก็สบาย แตกต่างกันไปตามฐานะการงานและการเงิน การศึกษา แต่มีคนบางกลุ่มที่ยังชักหน้าไม่ถึงหลัง จำเป็นจะต้องหาหยิบยืม กู้หนี้ ยืมสินหรือนำทรัพย์สินที่มีอยู่ไปจำนำ จำนอง ฯลฯ เพื่อนำมาหมุนเวียนให้อยู่รอด ดังนั้น หากเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเป็นหนี้ เราควรศึกษาให้ละเอียดเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อหรือเสียรู้ในการทำนิติกรรมและสัญญาผมขอนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายกู้ยืมนะครับ





   กฎหมายกู้ยืมนั้นเป็นกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 9 หมวด 2 ว่าด้วยยืมใช้สิ้นเปลือง ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจความหมายก่อนนะครับว่า ยืมใช้สิ้นเปลืองคืออะไร ซึ่งกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 650 ได้ให้คำนิยามว่าดังนี้
  “อันว่ายืมใช้สิ้นเปลืองนั้น คือสัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้สิ้นเปลืองไปนั้นเป็นปริมาณมีกำหนดให้ไปแก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น

   สัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม”

   หากเราพิจารณาจากตัวบทกฎหมายดังกล่าวจะเห็นได้ชัดเจนนะครับว่า ยืมใช้สิ้นเปลืองคือ สัญญาชนิดหนึ่งซึ่งต้องมีผู้ให้ยืม ผู้ยืม และทรัพย์สินที่ยืมโดยการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ได้ยืมต้องเป็นทรัพย์สินประเภทที่ใช้สินเปลืองไป โดยกำหนดเป็นปริมาณ จำนวน ชนิด ทั้งนี้ ผู้ยืมตกลงจะคืนทรัพย์สินประเภทเดียวกันหรือชนิดเดียวกันแก่ผู้ให้ยืม และต้องมีการส่งมอบ ทรัพย์สินที่ยืม สัญญาจึงจะบริบูรณ์ ตัวอย่าง นาย ก ทำสัญญาตกลงให้นาย ข ยืมเงิน จำนวน 2,000 บาท โดยนาย ข ตกลงว่าจะคืนเงินจำนวน 2,000 บาท คืนแก่นาย ก แทนจำนวนเงินที่ได้ยืมใช้ไปนั้น และนาย ก ได้ส่งมอบเงินจำนวน 2,000 บาทแก่นาย ข เป็นต้น

  ตัวอย่างที่ไม่ใช่ยืมใช้สิ้นเปลือง เช่น นาย ก ให้นาย ข ยืมรถมอเตอร์ไซต์ เป็นต้น ดังนี้ไม่เป็นยืมใช้สิ้นเปลืองแต่เป็นสัญญายืมใช้คงรูปซึ่งจะได้กล่าวในบทความต่อไป
 
  เมื่อเราเข้าใจความหมายเบื้องต้นของการยืมใช้สิ้นเปลืองแล้ว ในการกู้ยืมเงินก็เป็นสัญญาในลักษณะของการยืมใช้สิ้นเปลืองโดยลักษณะของสัญญามีหลักต้องทำความเข้าใจดังนี้นะครับ
1.เป็นสัญญาลักษณะต่างตอบแทน โดยทั้งผู้ยืมและผู้ให้ยืมต่างมีหน้าที่ต่อกันโดย ผู้ให้ยืมมีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ยืมและผู้ยืมก็มีหน้าที่จำต้องส่งมอบทรัพย์สินที่(ได้)ให้ยืมคืนแก่ผู้ให้ยืม
2.มีลักษณะเป็นสัญญาที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่อีกฝ่าย
3.วัตถุแห่งทรัพย์สินต้องเป็นทรัพย์ที่ยืมใช้สิ้นเปลืองไป เช่น เงิน ข้าวสาร โดยส่วนมากเป็นสังหาริมทรัพย์ที่กำหนดเป็นจำนวน ปริมาณ ชนิด ได้
4.สัญญาจะบริบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ยืม ตราบใดที่ยังมิได้ส่งมอบตราบนั้นสัญญาจะยังบริบูรณ์ไม่ได้

หน้าที่และความรับผิดของผู้ยืมมีดังนี้
1.หน้าที่ในการเสียค่าใช้จ่าย(ค่าฤชาธรรมเนียม) ทั้งการทำสัญญา การส่งมอบ และการส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม ย่อมตกแก่ผู้ยืมเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 651
2.หน้าที่ในการคืนทรัพย์สินที่ยืมดังได้กล่าวแล้ว

กรณีไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม
ในกรณีที่สัญญาไม่มีหรือไม่ได้กำหนดระยะเวลาให้คืนทรัพย์สินซึ่งยืมไปนั้น เป็นสิทธิของผู้ให้ยืมจะบอกกล่าวแก่ผู้ยืมให้คืนทรัพย์สินภายในเวลาอันควรซึ่งกำหนดไว้ในคำบอกกล่าวได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 652 เช่น นาย ก ให้นาย ข ยืมเงินจำนวน 2,000 บาท โดยในสัญญามิได้กำหนดไว้ว่านาย ข ต้องคืนเงินแก่นาย ก เวลาใด ดังนี้ นาย ก มีสิทธิที่จะบอกกล่าวให้นาย ข ชำระเงินจำนวน 2,000 บาทแก่นาย ก โดยกำหนดระเวลาอันสมควรก็ได้หรือจะฟ้องคดีเลยก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 203 แต่หากในสัญญากำหนดระยะเวลาชำระเงินที่ยืมไว้ นาย ก ไม่จำต้องบอกกล่าวและนาย ข มีหน้าที่ต้องส่งคืนเงินที่ยืมเมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกา2103/2535วินิจฉัยไว้ว่า “สัญญากู้ไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ ผู้ให้กู้ย่อมจะเรียกให้ผู้กู้ชำระเงินได้โดยพลันตามมาตรา 203 และมีอำนาจฟ้องให้ผู้กู้ชำระหนี้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวตามมาตรา 652 ก่อนก็ได้”

หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน
   มาตรา 653แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้วางหลักไว้ว่า “การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่
  ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง(ต่อศาล) หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว”

จากหลักกฎหมายดังกล่าวผมสรุปได้ดังนี้ครับ
   1.ต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ โดยไม่จำเป็นจะต้องเป็นสัญญาในลักษณะของสัญญาเสมอไป อาจเป็นการรับสภาพหนี้ในรูปแบบอื่นหรือจดหมายหรือทำนองอื่นใดอันมีความหมายแสดงให้เห็นว่ามีการกู้ยืมเงินกัน ตกลงจะชำระคืน และได้ส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม และลงลายมือชื่อผู้กู้ยืม เช่น บันทึกการเปรียบเทียบของอำเภอมีข้อความว่า จำเลยรับว่าได้ยืมเงินโจทก์ไป 800 บาท แต่ใช้แล้ว จำเลยลงชื่อในบันทึกนั้น ดังนี้ บันทึกดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน (คำพิพากษาฎีกา 1567/2499)รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่เปรียบเทียบปรับจำเลยมีข้อความตอนหนึ่งว่า จำเลยขอยืมเงินของโจทก์และสัญญาว่าจะชดใช้เงินคืน จำเลยลงลายมือชื่อในรายงานดังกล่าวด้วยถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน(คำพิพากษาฎีกา 3003/2538)แม้ลงลายมือชื่อด้านหลังหรือลงในช่องสัญญาค้ำประกันก็สามารถเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้

   2.ในสัญญาหรือหลักฐานแห่งการกู้ยืมต้องมีสาระสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ การบรรยายอันแสดงให้เห็นหรือเข้าใจว่า ผู้กู้ยืมได้รับเงินจำนวนที่กู้และจะส่งมอบเงินคืน และระบุจำนวนเงินที่ยืมด้วยอาจเป็นตัวเลขหรือตัวหนังสือหรือทั้งสองก็ได้ ดังนี้แม้ในสัญญาไม่มีข้อความว่ากู้ยืม ก็ถือเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม ฟ้องร้องบังคับคดีได้ทันที

คำพิพากษาฎีกา 306/2506จำเลยลงชื่อในใบรับเงิน 2 ฉบับ ซึ่งมีข้อความเพียงว่า “รับเงิน 6,000 บาท และรับเงิน 3,000 บาท ” โดยไม่มีข้อความว่าผู้รับเงินจะใช้เงินคืน ไม่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม

คำพิพากษาฎีกา807/2529เอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมไม่จำเป็นต้องระบุชัดแจ้งว่าเป็นหนี้เงินกู้ แต่ต้องมีข้อความแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีหนี้สินอันจะพึงต้องชำระแก่โจทก์

คำพิพากษาฎีกา 1504/2531เอกสารที่จำเลยทำให้โจทก์มีข้อความว่า จำเลยจะนำเงิน 50,000 บาท มาใช้ให้แก่โจทก์ภายในเดือนพฤษภาคม 2526 แสดงว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามที่ระบุไว้ ใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้

คำพิพากษาฎีกา 2982/2535โจทก์มีหนังสือรับสภาพหนี้มีข้อความว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์จำนวน 190,000 บาท จำเลยรับว่าจะชดใช้ให้ และลงชื่อจำเลย หนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมแล้ว

คำพิพากษาฎีกา 3262/2535จำเลยทั้งสองกู้ยืมเงินโจทก์ไป การที่สัญญาตอนต้นมีข้อความระบุว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้ แต่จำเลยที่สองลงชื่อในช่องพยาน ส่วนจำเลยที่ 1 ตอนต้นของสัญญาไม่ได้ระบุว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ แต่จำเลยที่ 1 ลงชื่อในช่องผู้กู้ เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามมาตรา 653 แล้ว จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาฎีกา 1776/2541คำว่า หลักฐานเป็นหนังสือตามมาตรา 653 มิได้เคร่งครัดถึงกับว่าจะต้องมีคำว่ากู้ยืมในหนังสือนั้น เมื่อเอกสารมีข้อความว่า จำเลยเป็นหนี้กู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 116,000 บาท มีลายมือชื่อจำเลยลงไว้แม้มิได้อยู่ในช่องผู้กู้ โจทก์ก็นำสืบพยานบุคคลถึงเหตุที่จำเลยกู้ยืมได้

คำพิพากษาฎีกา 2405/2520จำเลยยืมเงินโจทก์ไป 29,700 บาทแล้วออกเช็คสั่งจ่ายจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงินธนาคารปฏิเสธการใช้เงิน โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ จำเลยเขียนจดหมายถึงโจทก์ขอความเห็นใจเพื่อมิให้โจทก์นำเช็คไปแจ้งความดำเนินคดีอาญาและรับรองว่าจะชำระเงินที่ยืมไปจนครบ ดังนี้ ข้อความในเอกสารคือเช็คและจดหมายประกอบกันแล้วถือได้ว่ามีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ

คำพิพากษาฎีกา 5235/2542การกู้ยืมโจทก์มีหลักฐานเป็นข้อความเขียนไว้ด้านหลังของต้นขั้วเช็คเพียงว่าได้รับเรียบร้อยแล้วและลงลายมือชื่อจำเลย ส่วนด้านหน้าระบุชื่อจำเลยที่ 1 และจำนวนเงิน 600,000 บาท ข้อความทั้งสองด้านฟังประกอบกันได้ว่าได้รับเช็ค 600,000 บาทไปเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่อาจฟังขยายความออกไปได้ว่าเป็นการรับเช็คที่กู้ยืมเงินหรือรับเงินที่กู้ยืม ถือว่าไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือ

   3.ต้องลงลายมือผู้กู้เป็นสำคัญ โดยมีเฉพาะลายมือชื่อผู้กู้เท่านั้น มาตรา 653 มิได้กำหนดให้ลงทั้งสองฝ่าย ดังนั้น สัญญากู้แม้ลงเฉพาะลายมือชื่อผู้กู้ จะเป็นชื่อจริงหรือชื่อเล่นก็แล้วแต่ ก็เป็นการลงลายมือชื่อตามมาตรา 653 แล้ว และในการที่ลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมนั้น นอกจากผู้ให้ยืมจะลงลายมือชื่อเองแล้วอาจจะให้ตัวแทนลงลายมือชื่อก็ได้ (คำพิพากษาฎีกา 2207/2535) แต่ตัวแทนต้องมีหนังมอบอำนาจหรือหนังสือมอบฉันทะมีอำนาจให้ลงลายมือแทนได้ เพื่อเป็นหลักฐานแห่งการเป็นตัวแทนตามมาตรา 798 ด้วยมีคำพิพากษาหนึ่งที่หน้าสนใจว่า นามบัตรใช้เป็นหลักฐานการตั้งตัวแทนได้ คำพิพากษาฎีกา 2740/2535

   4.สัญญากู้อาจทำขณะกู้ยืมกันหรือ อาจทำในภายหลังก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมีขณะทำสัญญากู้ อาจมีขึ้น
ภายหลังได้ แต่ทั้งนี้ต้องก่อนฟ้องคดี ( คำพิพากษาฎีกา 3464/2528 , 1286/2535 )

   5.หากไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้เป็นสำคัญ จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
ซึ่งหากมีการแก้ไขจำนวนเงินที่กู้ยืมกัน แม้จะลงลายมือชื่อเพียงครั้งเดียวสัญญากู้ก็เป็นหลักฐานแห่งการกู้ฟ้องได้ หรือกรณีมีการกู้ยืมครั้งแรกจำนวน 2,000 บาท ต่อมาผู้ให้กู้แก้ใขจำนวนเงินเป็น 4,000 บาทโดยผู้กู้ไม่ได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้โดยผู้กู้ยินยอมดังนี้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าในการแก้ไขนั้นไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ผู้กู้รับผิดเพียงจำนวน 2,000 บาทเท่านั้น หากผู้กู้ไม่ยินยอมละจะเป็นอย่างไร ซึ่งหากผู้กู้ไม่ยินยอมให้แก้ไข สัญญากู้ดังกล่าวตกเป็นเอกสารปลอมทันที ซึ่งอาจไม่ได้ทั้งเงินที่ให้กู้แล้วยังอาจมีคดีอาญาฐานปลอมและใช้เอกสารติดมาอีกกระทงหนึ่ง ฉะนั้น ผู้ให้กู้ทั้งหลายไม่ควรหน้าเลือดเห็นแก่ได้โดยเด็ดขาดนะครับ

   6.กรณีที่สัญญากู้ไม่ได้ระบุ หรือ กรอกจำนวนเงิน ตำเลขที่กู้ยืมกันไว้ แบ่งเป็น 3 กรณี
    6.1 ผู้ให้กู้กรอกจำนวนเงินสูงกว่าที่กู้จริง เช่น ผู้กู้ลงลายมือชื่อในแบบพิมพ์สัญญากู้ซึ่งไม่มีการกรอกข้อความและจำนวนเงิน เมื่อผู้ให้กู้ฟ้องจึงกรอกตัวเลขสูงกว่าความเป็นจริงดังนี้ ศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่า สัญญากู้ฉบับที่นำมาฟ้องดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม พิพากษายกฟ้องโดยผู้กู้ไม่ต้องรับผิด(อ้างคำพิพากษาฎีกา 5189/2540 , 2970/2537 , 2742/2535 , 2163/2533 )

    6.2 ผู้ให้กู้กรอกจำนวนเงินตามที่กู้จริง เช่น ทำสัญญากู้โดยผู้กู้ลงชื่อไว้ในแบบพิมพ์สัญญากู้โดยไม่ได้กรอกข้อความ ผู้กู้ไม่ชำระหนี้ ผู้ให้กู้จึงกรอกข้อความและจำนวนเงินตามความเป็นจริงที่ตกลงกัน ดังนี้ สัญญากู้ดังกล่าวใช้บังคับได้(คำพิพากษาฎีกา7428/2543)

   6.3กรณีกู้กันครั้งเดียว แต่ผู้กู้ลงชื่อไว้สัญญา 2 ฉบับ เช่น นาย ก กู้เงินนาย ข 7,000 บาท แต่ทำสัญญากู้ให้กับนาย ข ไว้ 2 ฉบับ โดยฉบับแรกระบุจำนวนเงินกู้ 7,000 บาท และฉบับที่สอง 14,000 บาท โดยมีนาย ค ค้ำประกันการกู้ยืมตามสัญญาฉบับที่สอง โดยตกลงกันว่าถ้าไม่ชำระหนี้ให้นาย ข นำสัญญากู้ฉบับที่สองมาฟ้อง เมื่อนาย ก ไม่ชำระหนี้ นาย ข จึงนำสัญญากู้ฉบับที่สองมาฟ้อง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เห็นได้ว่าประโยชน์ที่ผู้ให้กู้(นาย ข)ได้รับมากเกินสมควร เป็นการที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะ จำเลยที่ 1(นาย ก) ผู้กู้คงต้องรับผิดเฉพาะเงิน 7,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 2 (นาย ค)ผู้ค้ำประกันเงินกู้ 14,000 บาท มิได้ค้ำประกันเงินกู้ 7,000 บาท จึงหาต้องรับผิดด้วยไม่ (อ้างคำพิพากษีกา 730/2508)

การนำสืบตามสัญญากู้
   ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้เวนคืนแล้วหรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วมาตรา 653 วรรคสอง
   1.ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
   2.บังคับเฉพาะนำสืบการใช้เงิน
หากเป็นการชำระด้วยอย่างอื่นที่ไม่ใช่เงินไม่อยู่ในบังคับมาตรา 653 วรรคสอง

คำพิพากษาฎีกา 582/2524จำเลยนำสืบได้ว่าเอาที่ดินใช้หนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ได้ แม้ไม่มีหลักฐานตามมาตรา 653 วรรคสอง

คำพิพากษาฎีกา 1452/2511การที่เจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้โดยวิธีที่ลูกหนี้มอบฉันทะให้บุตรเจ้าหนี้ไปรับเงินบำนาญพิเศษที่ลูกหนี้มีสิทธิได้รับ แล้วนำมาหักใช้หนี้เงินกู้แทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ เป็นการชำระหนี้ด้วยของอื่น

คำพิพากษาฎีกา 182/2518การออกเช็คใช้หนี้เงินกู้เป็นการชำระหนี้ด้วยของอื่น

คำพิพากษาฎีกา 2965/2531จำเลยชำระหนี้เงินกู้ด้วยการโอนเงินทางโทรเลขเข้าบัญชีของโจทก์ เป็นการชำระหนี้อย่างอื่น ไม่อยู่ในบังคับมาตรา 653 วรรคสอง

คำพิพากษาฎีกา 5689/2537 จำเลยชำระหนี้เงินกู้โดยมอบสมุดเงินฝากพร้อมทั้งมอบฉันทะให้โจทก์ถอนเงินจากบัญชีไปชำระหนี้โจทก์เป็นรายเดือน เป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้วตามมาตรา 321
การนำสืบการชำระดอกเบี้ย ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ   การนำสืบการใช้เงินที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้กู้มาแสดงนั้น หมายถึง การนำสืบการชำระเงินต้นเท่านั้น ไม่รวมถึงการชำระดอกเบี้ย(คำพิพากษาฎีกา 1332/2531 , 936/2504)

การเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามมาตรา 653 วรรคสอง
คำพิพากษาฎีกา 2657/2534 หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ที่จำเลยมอบให้โจทก์ไว้เป็นหลักประกันการกู้ยืม ไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมเพราะไม่ใช่เอกสารที่แสดงในตัวเองว่ามีการกู้ยืมเงิน การที่โจทก์คืน น.ส.3 ดังกล่าวให้จำเลย ไม่ใช่การเวนคืนหลักฐานการกู้   การมอบโฉนดหรือ น.ส.3 ให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้ดังกล่าว แม้จะเขียนไว้ในสัญญากู้ว่า เพื่อเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินขอมอบโฉนดหรือ น.ส.3 ให้ผู้ให้กู้ไว้เป็นประกัน ก็ไม่ถือว่าโฉนดหรือ น.ส.3 ดังกล่าวเป็นหลักฐานการกู้ยืมตามมาตรา 653 วรรคสอง

การแทงเพิกถอนลงในเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม
   การแทงเพิกถอนตามมาตรา 653 วรรคสองหมายถึงการทำลงในเอกสารอันเป็นหลักฐานการกู้ยืม เช่น การขีดฆ่าสัญญากู้ แก้ไขจำนวนเงินกู้ให้ลดลง เขียนข้อความลงไปว่าเพิกถอน การแทงเพิกถอนนี้อาจทำเองโดยเจ้าหนี้หรือบุคคลอื่นที่ได้รับมอบหมายก็ได้ (คำพิพากษาฎีกา 1254/2505)

อัตราดอกเบี้ยสำหรับการกู้ยืมเงิน

สำหรับอัตราดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 7 ได้บัญญัติไว้ว่า “ถ้าจะเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมและสัญญาหรือโดยบทบัญญัติของกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี”
 
   มาตรา 224“หนี้เงินนั้นท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ถ้าเจ้าหนี้อาจเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้น โดยอาศัยเหตุอย่างอื่นโดยชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้ส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น
ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด
   การพิสูจน์ค่าเสียหายอย่างอื่นนอกจากนั้น ท่านอนุญาตให้พิสูจน์ได้ ”


  มาตรา 654“ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี”

  มาตรา 655“ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำระ แต่ทว่าเมื่อดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่าปีหนึ่ง คู่สัญญากู้ยืมจะตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยนั้นทบเข้ากับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นก็ได้ แต่การตกลงเช่นนั้นต้องทำเป็นหนังสือ”
  

   ส่วนประเพณีการค้าขายที่คำนวณดอกทบต้นในบัญชีเดินสะพัดก็ดี ในการค้าขายทำนองอื่นเช่นว่านี้ก็ดี หาอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติซึ่งกล่าวมาในวรรคก่อนนั้นไม่”
 

   จากบทมาตรากฎหมายข้างต้นนะครับพอสรุปได้ว่า ในการทำสัญญากู้ยืมเงินนะครับ กฎหมายกำหนดไว้ให้คิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละไม่เกินสิบห้าต่อปี ถ้าหากกำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น กฎหมายให้ลดลงมาเหลือร้อยละสิบห้าต่อปี และในกรณีที่ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้กฎหมายให้คิดได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี

  ในกรณีผิดสัญญาเจ้าหนี้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดได้ แยกเป็นสองกรณีคือ หากสัญญามิได้กำหนดเบี้ยระหว่างผิดนัดไว้ ถ้าลูกหนี้ผู้กู้ยืมผิดนัดหรือผิดสัญญา กฎหมายกำหนดให้คิดดอกเบี้ยระหว่างเวลาผิดนัดได้ไม่เกินร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี หรือกรณีที่สองในสัญญากำหนดเบี้ยระหว่างผิดนัดไว้เกินร้อยละเจ็ดครึ่งก็สามารถทำได้แต่ไม่เกินร้อยละสิบห้าดังกล่าวแล้ว แต่ห้ามคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างเวลาที่ผิดนัดหรือคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างเวลาที่ค้างชำระกันอยู่แต่หากดอกเบี้ยดังกล่าวน้อยกว่าหนึ่งปีคู่สัญญาจะตกลงกันให้นำดอกเบี้ยทบเข้ากับเงินต้นแล้วคิดดอกเบี้ยจากเงินจำนวนที่ทบเข้ากันก็สามารถทำได้โดยความยินยอมของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย

สัญญากู้ยืมเงินแต่ตกลงใช้หนี้เป็นทรัพย์สินอย่างอื่นแทนจำนวนเงินที่กู้ยืม
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
   มาตรา 656“ถ้าทำสัญญากู้ยืมเงินกัน และผู้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นแทนจำนวนเงินนั้นไซร้ ท่านให้คิดเป็นหนี้เงินค้างชำระโดยจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบ
   ถ้าทำสัญญากู้ยืมเงินกัน และผู้ให้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืมไซร้ หนี้อันระงับไปเพราะการชำระเช่นนั้น ท่านให้คิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบ
   ความตกลงกันอย่างใด ๆ ขัดกับข้อความดังกล่าวมานี้ ท่านว่าเป็นโมฆะ”


กำหนดอายุความฟ้องร้องในคดีกู้ยืม
  กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 “อายุความนั้น ถ้าประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้มีกำหนดสิบปี”

   ในเรื่องของอายุความในเรื่องยืมใช้สิ้นเปลืองนั้น กฎหมายลักษณะนี้มิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะดังนั้นจึงใช้มาตรา 193/30 บังคับโดยกำหนดอายุความไว้คือ 10 ปี ยกตัวอย่างเช่น นาย ก ทำสัญญากู้ยืมเงินจากนาย ข ลงวันที่ทำสัญญาคือ 1 มกราคม 54 โดยกำหนดชำระคืนในวันที่ 31 มกราคม 54 หากครบกำหนดตามสัญญาแล้วนาย ก ผิดนัดไม่มีเงินมาชำระแก่นาย ข ดังนี้ นาย ข สามารถฟ้องร้องบังคับคดีเอาเงินจำนวนที่กู้ยืมคืนได้ภายในกำหนดระยะเวลา 10 ปี หลังจากครบกำหนดชำระตามสัญญา คือ นับแต่วันที่ 31 มกราคม 54 เป็นต้นไปเป็นระยะเวลาสิบปีหากพ้นกำหนดดังกล่าวนาย ข ไม่สามารถฟ้องได้เพราะคดีขาดอายุความยกเว้นว่า นาย ข จะชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยบางส่วนหรือทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ เป็นต้น


ตัวอย่างสัญญากู้ยืมเงิน


สัญญากู้ยืมเงิน(ตัวอย่าง)
ทำที่........................................
...............................................

วันที่ 1 มกราคม 2554(วันที่ทำสัญญา)

    สัญญาฉบับนี้เรียกว่าสัญญากู้ยืมเงิน โดยข้าพเจ้านายมารวย ชอบให้กู้ อายุ 40 ปี อยู่บ้านเลขที่ 1/1 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า “ผู้ให้กู้” ฝ่ายหนึ่ง
กับนายชอบกู้ ไม่ยอมจ่าย อายุ 25 ปี ถือบัตรประจำตัวประชาชนเลขที่ 1 2224 00019 459 (จำเป็นต้องเขียนไว้ในสัญญานะครับเพราะเวลาฟ้องร้องมีประโยชน์ในการติดตามหาตัวลูกหนี้ เช่น ย้ายภูมิลำเนาหรือเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุลเป็นต้น) อยู่บ้านเลขที่ 2/2 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร ฝ่ายหนึ่งซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า “ผู้กู้” ทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญากู้ยืมเงินกันมีข้อความตามจะกล่าวต่อไปนี้
  ข้อ 1.ผู้กู้ได้ตกลงกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้จำนวน 100,000 บาท(หนึ่งแสนบาทถ้วน) โดยผู้กู้ได้รับเงินจำนวนดังกล่าวครบถ้วนแล้วในวันทำสัญญาฉบับนี้และตกลงจะชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยคืนกับผู้ให้กู้ภายในวันที่ 31 มกราคม 2555
   ข้อ 2.ผู้กู้ตกลงจะชำระดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีของเงินจำนวน 100,000 บาทและตกลงจะชำระดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ภายในวันที่ 1 ของทุกๆเดือนจนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้เงินต้นครบตามที่กำหนดในสัญญานี้
   ข้อ 3.ค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญา ค่าส่งมอบคืนทรัพย์สินที่กู้ยืมก็ดี ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการบอกกล่าวทวงถามก็ดีและค่าเสียหายจาการผิดนัด ตกเป็นของผู้กู้ชำระทั้งหมดแต่ผู้เดียว
  ข้อ 4.หากผู้กู้ผิดสัญญาตามข้อ 1. และข้อ 2. ผู้กู้ยินยอมชำระดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดหรือเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีของจำนวนเงินต้นและดอกเบี้ยที่ค้างชำระแก่ผู้ให้กู้ จนกว่าผู้กู้จะชำระเสร็จแก่ผู้ให้กู้ และ/หรือยินยอมให้ผู้ให้กู้ฟ้องร้องผู้กู้ต่อศาลเพื่อบังคับคดี และยินยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายที่เสียไปในการติดตาม ทวงถามการฟ้องร้องดำเนินคดี บังคับคดีตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่นๆ อันเกิดจากการผิดสัญญานี้ได้อีกด้วย
  ข้อ 5.หากผู้กู้ ประสงค์จะชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอย่างอื่นนอกเหนือจากทรัพย์ที่เป็นตัวเงินทรัพย์สินนั้น ต้องเป็นทรัพย์สินที่มีราคาเท่ากับท้องตลาดในเวลา ณ วันที่ส่งมอบนั้นและมีทุนทรัพย์เท่ากับจำนวนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยที่ค้างชำระแก่ผู้ให้กู้ โดยความยินยอมของผู้ให้กู้
   ผู้ให้กู้ขอสงวนสิทธิในการให้ยินยอมหรือไม่ให้ความยินยอมตามข้อ 5 วรรคแรกข้างต้นก็ได้
 ข้อ 6.หากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญา ยินยอมให้อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องร้องบังคับคดีและยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายต่างๆ จากการฟ้องร้องและการบังคับคดีได้ด้วย
   สัญญาฉบับนี้ทำขึ้นสองฉบับ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้อ่านข้อความข้างต้นจนเข้าใจรายละเอียด ข้อตกลงตรงตามเจตนาของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายดีแล้ว เพื่อเป็นหลักฐานจึงลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานเป็นสำคัญ

ลงชื่อ  มารวย   ผู้ให้กู้ 
(นายมารวย  ชอบให้กู้) 

ลงชื่อ  ชอบกู้       ผู้กู้
      ( นายชอบกู้   ไม่ยอมจ่าย)

  ลงชื่อ      ชอบ    พยาน
(นายชอบ ชอบหาเรื่อง) 

ลงชื่อ มาดี   พยาน/ผู้เขียน/พิมพ์
 (นายมาดี     ชอบหาเรื่อง)


หมายเหตุ ในการลงลายมือชื่อนั้นหากผู้ลงลายมือชื่อเขียนหนังสือไม่ได้ให้ใช้ลายพิมพ์นิ้วมือ แกงใดหรือเครื่องหมายอื่นทำนองเดียวกันลงในเอกสารแทนการลงลายมือชื่อ และต้องมีพยานลงลายมือชื่อรับองลายพิมพ์นิ้วมือนั้น อย่างน้อยสองคน ก็เสมอกับการลงลายมือชื่อแล้ว( ป.พ.พ.มาตรา 9 วรรคสอง)
สำหรับเรื่องกู้ยืมนั้นมีรายละเอียดอีกเยอะครับในทางปฎิบัติเพราะเจ้าหนี้ส่วนมากจะไม่ยอมให้กู้ง่ายๆ คือ ต้องให้ผู้ให้กู้หาหลักประกันหรือคนน่าเชื่อถือมาทำสัญญาค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมอีกชั้นหนึ่งเพื่อเป็นการรับรองว่าหากลูกหนี้หนี หรือไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ก็สามารถฟ้องบังคับเอากับทรัพย์สินที่นำมาทำสัญญาอีกชั้นหนึ่งหรือฟ้องเอากับคนค้ำประกันอีกชั้นหนึ่งซึ่งจะขอกล่าวในเรื่องต่อไปนะครับ
และในการฟ้องร้องบังคับคดีส่วนมากฟ้องร้องชนะแล้วได้แต่คำพิพากษาละจะทำยังไง หรือเป็นหนี้สถาบันการเงินซึ่งคิดดอกเบี้ยในอัตราที่เกินกว่าร้อยละสิบห้าและดอกทบต้นจะได้นำเสนอแยกอีกต่างหากนะครับ
   สำหรับการกู้ยืมกันนั้น ถ้าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายซื่อสัตย์ต่อกัน ผมมั่นใจว่าการฟ้องร้องบังคับคดีก็จะไม่เกิดขึ้นครับ และหากทุกคนใช้จ่ายอย่างระมัดระวังด้วยความเหมาะสมตามอัฒภาพและรู้จักประหยัด อดออม วางแผนกันสักนิด และรู้จักพอเพียงรับรองครับว่าจะไม่มีหนี้สินมารบกวนใจอย่างแน่นอน แต่หากมีความจำเป็นจริงๆ ที่จะต้องกู้ยืมก็ให้คิดอย่างละเอียด รอบด้านและปรึกษาผู้รู้เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นตามมาในอนาคต ขอให้ผู้อ่านทุกท่านอ่านอย่าได้มีหนี้ หรือใครมีหนี้อยู่ก็ขอให้หมดหนี้เร็วนะครับ สำหรับวันนี


การปล่อยวาง คือ ศิลปของชีวิต

$
0
0
      การทำความดี ให้เริ่มต้นจากตัวเราก่อน สังคมมันจะเลว แต่ตัวเราไม่ต้องเลวร้ายตาม เราไม่สามารถห้ามคนอื่นทำความชั่วได้ แต่ห้ามตัวเราไม่ให้ทำความชั่วได้ อย่าหวังพึ่งผู้อื่นมากจนกว่าการคิดที่จะพึ่งตนเอง อย่าแสวงหาสิ่งที่อยู่นอกตัวเราจนเกินพอดี พองาม การทำความดีในตน เป็นสิ่งที่ทำได้ ถ้าหาความเป็นธรรมจากภายนอกมีแต่จะผิดหวังเท่านัน











      คนที่โกรธคนอื่น จะเสียเปรียบคนอื่นมาก อย่าไปหาความดีจากคนอื่น อย่า
ทำอะไรตามความคิด อย่าปล่อยให้ความคิดออกหน้า จงให้สตินำหน้าความคิด...


      พูดกับคนอื่นให้น้อย เตือนสติตนเองให้มาก ความหลงเป็นศัตรูของความคิด ความรู้เป็นมิตรกับปัญญา ให้กลัวความหลง ให้กล้ากับความรู้สึก ฉลาดในการเอาชนะตัวเอง ยอมแพ้คนอื่นในทางสมมุติ มีสติเฝ้าดูตัวเอง....


      มองเห็นทุกสิ่งอย่างตามธรรมชาติ นั่นแหละคือเห็นธรรม...






     ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต...


     ความประมาทเป็นหนทางสู่ความตาย จงอย่าประมาท ให้มีสติอยู่ทุกเมื่อ การมีสติ คือ การมีคุณภาพชีวิตที่ดี และการสร้างคุณภาพชีวิต คือการสร้าง สติ...


     การปล่อยวางเป็นศิลปะของจิตใจ ยิ่งมีความปล่อยวางมากเท่าไหร่ ยิ่งมีความมั่นคงมากเท่านั้น ความยึดมั่นถือมั่น จะทำให้เกิดความล้มเหลวในชีวิตตลอดกาล....


    ถ้ากาย ใจ ขาด สติ นั่นและชื่อว่าประมาทแม้เพียงชั่ววูปขณะจิต ความประมาทเกิดความเสียหายแก่ตนเอง และคนอื่นอย่างมหาศาล...


    ที่ใดมีรูป ที่นั้นมีนาม ที่ใดมีนามที่นั้นมีรูป ในรูปนามนี้มีทั้งธรรมชาติ และมีทั้งอาการ ผู้ที่แจ้งแล้วย่อมมองเห็นธรรมชาติตามเป็นจริงแล้วปล่อยให้เป็นของธรรมชาติบ้าง ของอาการบ้าง ตามสภาวะแห่งเหตุปัจจัย...


     กรรมเป็นสิ่งจำแนกสัตว์ การมีสติภายในจิตใจ คือการทำกรรมดี และไม่มีกรรมใดที่ถูกต้องเท่าการมีสติ เมื่อสติสมบูรณ์ สมาธิย่อมเกิด สติปัฐานย่อมบริบูรณ์และเป็นทางสายเดียวที่จะทำให้สัตว์หลุดพ้นได้ นอกนี้แล้วยังมองไม่เห็นทางอื่น....


     การทำความดี ต้องพึ่งตนเองก่อน สร้างเอาเอง มีสติ ปล่อยวาง เสียสละ ตั้งจิตใจไว้ให้ถูก ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น นั่นและทางสายกลาง การเห็นเหตุปัจจัย ทำเหตุให้ดี เห็นอาการต่างๆที่เกิดขึ้นตามเป็นจริง ทำให้แจ้งได้ในสิ่งต่างๆ ผ่านได้ตลอดในอาการต่างๆ มองตน เห็นตน เตือนตน ไม่เป็นไปตามมัน รู้สมมุติ ถอนสมมุติ รู้แจ้งในรูปและนาม...


     สิ่งทั้งหลายทั้งปวงย่อมไม่เที่ยงแท้แน่นอน มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นธรรมดา(อนิจจํ ทุกขํ อนตฺตา) ไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่น ในสิ่งทั้งปวง มีแต่ธรรมชาติ ธรรมดาเท่านั้น ไม่มีใครเจ็บป่วยไม่มีใครตายหรอก ร่างกายมันแสดงธรรมในตัวมันเอง มันบอกถึงความไม่เที่ยงของมันเอง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นย่อมเป็นทุกข์ ....






     ร่างกาย สังขาร มันบอกถึงความไม่เที่ยงของสังขาร มันบอกถึงความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน เป็นไปตามเหตุปัจจัย ให้ดูมันไป ถึงเวลาก็ปล่อยวาง อย่าไปยึดติด พร้อมที่จะทิ้งตลอดเวลา เพราะทุกอย่างย่อมมีสภาพเช่นนั้น(แน่นอน).....


     การปฎิบัติธรรม ให้เริ่มที่ตัวเอง ไม่ต้องแสวงหาเวลาที่ไหน เพราะเวลาอยู่กับเราทุกลมหายใจเข้า ออก ถ้ามีเวลาหายใจก็มีเวลาปฏิบัติธรรม...

อุบายวิปัสนา

$
0
0
อันเป็นเครื่องถอนกิเลส (หลวงปู่มั่น ภูิริทัตเถร)


 (อาจารย์มั่น ภูริถัตเถร)

ธรรมชาติของดีทั้งหลาย ย่อมเกิดมาแต่ของไม่ดีอุปมาดังดอกปทุมชาติอันสวยๆ งาม ก็เกิดขึ้นมาจากโคลนตมอันเป็นของสกปรกปฏิกูลน่าเกลียด แต่ว่าดอกบัวนั้น เมื่อขึ้นพ้นโคลนตมแล้วย่อมเป็นสิ่งที่สะอาด เป็นสิ่งที่ทัตทรงของพระราชา อุปราช อำมาตย์ และเสนาบดี เป็นต้น และดอกบัวนั้นก็มิกลับคืนไปยังโคลนตมอีกเลย ข้อนี้เปรียบเหมือนพระโยคาวจรเจ้า ผู้ประพฤติพากเพียรประโยคพยายาม ย่อมพิจารณาซึ่งสิ่งสกปรกน่าเกลียด จิตจึงพ้นสิ่งสกปรก น่าเกลียดได้สิ่งสกปรกน่าเกลียดนั้นคือ ตัวเรานี้เอง ร่างกายนี้เป็นที่ประชุมของโสโครก คือ อุจาระ ปัสสาวะ (มูตร คูถ ทั้งปวง) สิ่งที่ออกจาก ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น ก็เรียกว่า ขี้ทั้งหมด เช่น ขี้หัว ขี้เล็บ ขี้ฟัน เป็นต้น เมื่อสิ่งเหล่านี้ร่วงหล่นลงสู่อาหาร มีแกง กับ เป็นต้น
ก็รังเกียจ ต้องเททิ้ง กินไม่ได้และร่างกายนี้ต้องชำระเสมอ จึงพอเป็นของดูได้ ถ้าหากไม่ชำระขัดสีก็จะมีกลิ่นเหม็นสาบ เข้าไกล้ใครก็ไม่ได้ ของทั้งปวงมีผ้าแพร เครื่องใช้ต่างๆ เมื่ออยู่นอกกายของเราก็เป็นของที่สะอาดนน่าดู แต่เมื่อมาถึงกายนี้แล้ว ก็เป็นของสกปรกไป เมื่อปล่อยไว้นานๆ เข้าไม่ซักฟอก ก็จะเข้าไกล้ใครไม่ได้เลย เพราะเหม็นสาบ ดังนี้ จึงได้ความว่า ร่างกายของเรานี้เป็นเรือนมูตร เรือนคูถเป็นอสุภะของไม่งาม ปฏิกูลน่าเกลียด เมื่อยังมีชีวิติอยู่ ก็(เห็น)ถึงปานนี้ เมื่อชีวิตหาไม่แล้วยิ่งจะสกปรกหาอะไรเปรียบมิได้เลย เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรเจ้าทั้งหลาย จึงพิจารณาร่างกายอันนี้ให้ชำนิชำนานด้วยโยนิโสมนสิการ ตั้งแต่ต้นมาทีเดียว คือขณะเมื่อยังเห็นไม่ทันชัดเจน ก็พิจารณาส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งกายอันเป็นที่สบายแก่จริต จนกระทั่งปรากฎเป็นอุคคหนิมิต คือ ปรากฎส่วนแห่งร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วก็กำหนดส่วนนั้นให้มาก เจริญให้มาก ทำให้มาก การเจริญทำให้มากนั้น พึงทราบอย่างนี้ อันชาวบ้านทำนาเขาก็ทำที่แผ่นดิน ไถที่แผ่นดิน ดำลงไปในดินปีต่อไปเขาก็ทำที่ดินอีกเช่นเคย


เขาไม่ได้ไปทำในอากาศกลางหาว คงทำแต่ที่แผ่นดินอย่างเดียว ข้าวเขาก็ได้เต็มยุ้งเต็มฉางเอง เมื่อทำให้มากในที่ดินนั้นแล้ว ไม่ต้องเรียกว่า ข้าวเอ๋ยข้าว จงมาเต็มยุ้งฉางเน้อน ข้าวก็จะหลั่งใหลมาเอง และจะห้ามว่า ข้าวเอ๋ยข้าว จงอย่ามาเต็มยุ้งฉางเราหนอ ถ้าทำนาในที่ดินนั่นเองจนสำเร็จแล้วข้าวก็จะมาเต็มยุ้งฉางฉันใดก็ดี พระโยคาวจรเจ้าก็ฉันนั้น คงพิจารณากายในที่เคยพิจารณาอันถูกนิสัยหรือที่ปรากฎมาให้เห็นครั้งแรก อย่าละทิ้งเลยเป็นอันขาด การทำให้มากนั้นมิใช่หมายแต่การเดินจงกรมเท่านั้น ให้สติหรือพิจารณาในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ คิด พูด ก็ให้มัสติรอบคอบในกายอยู่เสมอ จึงจะชื่อว่าทำให้มาก 


เมื่อพิจารณาในร่างกายนั้นจนชัดเจนแล้ว ให้พิจารณาแบ่งส่วน แยกออกเป็นส่วนๆ ตามโยนิโสมนสิการ ตลอดจนกระจายออกเป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม และพิจารณาให้เห็นไปตามนั้นจริงๆ อุบายนี้ตามแต่ตนจะใคร่ครวญออกอุบายตามที่ถูกจริตนิสัยของตน แต่อย่าละทิ้งหลักเดิมที่ตนได้รู้ครั้งแรกนั้นเทียว พระโยคาวจรเจ้าเมื่อพิจารณาในที่นี้พึงเจริญให้มาก ทำให้มาก อย่าพิจารณาครั้งเดียว แล้วปล่อยทิ้งไปตั้งครึ่งเดือน ตั้งเดือนให้พิจารณาก้าวเข้าไป ถอยออกมา เป็นอนุโลมปฏิโลม คือเข้าไปสงบในจิต แล้วถอยออกมาพิจารณากายอย่าพิจารณากายอย่างเดียว หรือสงบที่จิตแต่อย่างเดียว 


พระโยคาวจรเจ้าพิจารณาอย่างนี้ชำนาญแล้ว หรือชำนาญอย่างยิ่งแล้ว คราวนี้แลเป็นส่วนที่จะเป็นเองคือ จิตย่อมจะรวมใหญ่ เมื่อรวมพึบลงย่อมปรากฎว่าทุกสิ่งรวมลงเป็นอันเดียวกัน คือหมดทั้งโลกย่อมเป็นธาตุทั้งสิ้น นิมิตจะปรากฎขึ้นพร้อมกันว่า โลกนี้ราบเหมือนหน้ากลอง เพราะมีสภาพเป็นอันเดียวกันไม่ว่าป่าไม้ ภูเขา มนุษย์ สัตว์ แม้ที่สุดตัวของเราก็ต้องลบนราบเป็นที่สุดอย่างเดียวกัน พร้อมกับ "ญาณสัมปยุต คือรู้ขึ้นมาพร้อมกัน"ในที่นี้ ตัดความสนเท่ห์ ในใจได้เลยจึงชื่อว่า "ยถาภูตญาณทัสสนวิปัสนา คือทั้งเห็นทั้งรู้ตามความเป็นจริง"ขั้นนี้เป็นเบิ้องต้นในอันที่จะดำเนินต่อไปไม่ใช่ที่สุด อันพระโคยาวจรเจ้า จะพึงเจริญให้มาก ทำให้มาก จึงจะเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่งอีกจนรอบจนชำนาญ เห็นแจ้งชัดว่า สังขารความปรุงแต่งอันเป็นความสมมุติ ว่า โน่นเป็นของเรา นั้นเป็นของเรา เป็นความพร้อมกับญาณสัมปยุตปรากฎพร้อมกัน จึงชื่อว่า วุฎฐานคามินีวิปัสนาทำในที่นี้จนชำนาญเห็นจริงแจ้งประจักษ์พร้อมกับการรวมใหญ่ และญาณสัมปยุตรวมทวนกระแสแก้อนุสัยสมมุติเป็นวิมุติหรือรวมลงเป็นฐีติจิตอันเป็นอยู่อย่างนั้นจนแจ้งระจักษ์ในที่นั้น ด้วยญาณสัมปยุตว่า ขีณา ชาติ ญาณํ โหติดังนี้ ในที่นี้ไม่ใช่สมมุติ ไม่ใช่ของแต่งเอาเดาเอา ไม่ใช่ของอันบุคคลพึงปรารถนาเอาได้ เป็นของที่เกิดเอง เป็นเอง รู้เองโดยส่วนเดียวเท่านั้น เพราะด้วยการปฏิบัติ อันเข้มแข็งไม่ท้อถอย พิจารณาโดยแยบคายด้วยตนเองจึงจะเป็นขึ้นมาเอง ท่านเปรียบเหมือนต้นไม้ต่างๆ มีต้นข้าว เป็นต้น เมื่อบำรุงรักษาต้นมันให้ดีแล้ว ผลคือรวงข้าวไม่ใช่สิ่งอันบุคคลมาปรารถนาเอาแต่รวงข้าว แต่หาได้รักษาต้นข้าวไม่ เป็นผู้เกียจคร้าน จะปรารถนาจนวันตายรวงข้าวก็ไม่มีขึ้นมาให้ฉันใดวิมุตติธรรมก็ฉันนั้นแล มิใช่สิ่งอันบุคคลพึงปรารถนาเอาได้ คนผู้ปรารถนาวิมุตติธรรม แต่ปฏิบัติไม่ถูกหรือไม่ปฏิบัติมัวเกียจคร้านจนวันตาย จะประสบวิมุตติธรรมไม่ได้เลย ด้วยประการฉะนี้




Latest Images