การขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายเป็น การกำหนดวิธีการที่จะทำให้คดีเสร็จสำนวนไปจากศาลได้โดยเร็ว ซึ่งถ้าศาลวินิจฉัยให้แล้วเป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายที่ขอ จะไม่ต้องมีการพิจารณาคดีนั้นต่อไป ซึ่งการขอนี้จะทำได้เฉพาะในศาลชั้นต้นเท่านั้น
มาตรา 24เมื่อคู่ความฝ่ายใดยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นอ้าง ซึ่งถ้าหากได้วินิจฉัยให้เป็นคุณแก่ฝ่ายนั้นแล้ว จะไม่ต้องมีการพิจารณาคดีต่อไปอีก หรือไม่ต้องพิจารณาประเด็นสำคัญแห่งคดีบางข้อ หรือถึงแม้จะดำเนินการพิจารณาประเด็นข้อสำคัญแห่งคดีไปก็ไม่ทำให้ได้ความชัดขึ้นอีกแล้ว เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอ ให้ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้มีผลว่าก่อนดำเนินการพิจารณาต่อไป ศาลจะได้พิจารณาปัญหาข้อกฎหมายเช่นว่านี้แล้ววินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหานั้น
ถ้าศาลเห็นว่าคำวินิจฉัยชี้ขาดเช่นว่านี้ จะทำให้คดีเสร็จไปได้ทั้งเรื่องหรือเฉพาะแต่ประเด็นแห่งคดีบางข้อ ศาล จะวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาที่กล่าวแล้วและพิพากษาคดีเรื่องนั้นหรือเฉพาะแต่ ประเด็นที่เกี่ยวข้องไปโดยคำพิพากษาหรือคำสั่งฉบับเดียวกันก็ได้
คำสั่งใด ๆ ของศาลที่ได้ออกตามมาตรานี้ ให้อุทธรณ์และฎีกาได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227,228 และ 247
คำสั่งชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา (มาตรา 227,228) คู่ความอุทธรณ์ฎีกาได้โดยไม่ต้องโต้แย้งไว้ (ฎ. 3425/32)
การชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 ต้องเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมาย ถ้าปัญหาที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ก็ไม่ใช่การชี้ขาดตามมาตรานี้ และเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226 (ฎ.3520/24, 1282/35)
ข้อสังเกต ในทางปฎิบัติ ก่อนศาลจะมีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น ศาลจะมีคำสั่งให้งดสืบพยานก่อน แล้วจึงมีคำพิพากษา ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าคำสั่งงดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาหรือไม่ การวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา 24 เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมาย และถือว่าคำสั่งงดสืบพยานไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ตามมาตรา 227,228 อุทธรณ์ได้ทันที หรืออุทธรณ์ได้ภายหลังมีคำพิพากษาโดยไม่ต้องโต้แย้งไว้ก่อน แต่ถ้าศาลวินิจฉัยโดยอาศัยข้อเท็จจริง ก็ไม่ต้องด้วยมาตรา 24 ไม่เข้าข้อยกเว้นว่าไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ตามมาตรา 227,228 แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226
บางกรณีมีความยุ่งยากพอสมควรที่จะแบ่งแยกว่า กรณีใดเป็นการชี้ขาดข้อกฎหมายตามมาตรา 24 หรือวินิจฉัยโดยอาศัยข้อเท็จจริง แต่ก็พอจะแบ่งแยกได้ว่า ถ้าศาลเพียงแต่พิเคราะห์จากคำฟ้องและคำให้การแล้วมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยและวินิจฉัยข้อกฎหมาย ดังนี้เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายมาตรา 24 (ฎ. 3833/28,956/36,6902/43)
แต่ถ้ามีการสอบข้อเท็จจริงจากคู่ความ หรือเมื่อมีการสืบพยานไปบ้างแล้ว จึงสั่งให้งดสืบพยาน ต่อมามีคำพิพากษาโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่ได้จากการสอบคู่ความหรือจากพยานที่ได้สืบไปแล้ว มิใช่การวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา 24 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา (ฎ. 2308/20, 2158/37)
ตามมาตรา 24 บัญญัติว่า ต้องเป็นกรณีหากวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่ฝ่ายที่ขอให้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นหลักสำคัญประการหนึ่งของการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่าศาลต้องสั่งเป็นไปในทางเป็นคุณแก่ผู้ขอ เช่น ฟังว่าคดีขาดอายุความ หรือฟ้องโจทก์เคลือบคลุม พิพากษาให้ยกฟ้อง
ถ้าคำชี้ขาดเบื้องต้นนั้นไม่เป็นคุณแก่ผู้ขอ ก็ไม่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา 24 แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา (ฎ. 3933/48, 226/04)
ถ้าหากศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นแล้ว (เป็นคุณแก่ผู้ขอ)แต่ต่อมาศาลอุทธรณ์ยก คำสั่งชี้ขาดเบื้องต้นของศาลชั้นต้น (ไม่เป็นคุณ) ดังนี้ คู่ความฎีกาได้ (ฎ. 268/91 ป.) ที่เป็นเช่นนี้เพราะเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเช่นนั้นแล้ว คดีก็ย่อมกลับมาสู่การพิจารณาของศาลชั้นต้นอีก และเสร็จจากศาลอุทธรณ์ จึงไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์
นอกจากนี้กรณีที่ศาลยังไม่ได้สั่งในเนื้อหาคำขอ แต่สั่งให้รวมวินิจฉัยคำร้องในคำพิพากษา (ฎ. 462/08) หรือคำสั่งไม่รับวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น (ฎ. 1032/94) ซึ่งไม่เป็นคุณแก่ผู้ขอ ก็เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เช่นกัน
เมื่อมีคำขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย เป็นดุลพินิจของศาลที่จะวินิจฉัยชี้ขาดในระหว่างนั้น หรือจะรอไว้วินิจฉัยพร้อมคำพิพากษาก็ได้ (ฎ. 1254/17)
การขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามมาตรา 24 นี้ ขอได้เฉพาะคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จะมาขอในชั้นอุทธรณ์ หรือฎีกาไม่ได้ (คร. 1346/28,ฎ. 945/36)
การขอให้ศาลชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย หากศาลไม่วินิจฉัยให้ ย่อมมีสิทธิยื่นคำขอนั้นได้อีก ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ (ฎ. 3574/36)
การวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามมาตรา 24 นี้ ศาลอาจเห็นสมควรชี้ขาดเบื้องต้นเองหรือคู่ความมีคำขอให้ชี้ขาด ดังนั้นในกรณีที่คู่ความขอให้ศาลชี้ขาดโดยอ้างเหตุหนึ่ง ศาลก็อาจชี้ขาดโดยอ้างอีกเหตุหนึ่งได้ (ฎ.1102/06)
คำพิพากษาที่น่าสนใจ
คำพิพากษาที่น่าสนใจ
คำพิพากษาที่1254/17การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษายกฟ้องโดยข้อกฎหมาย มิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานโดยอาศัยข้อเท็จจริง เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายอันจะทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 จึงไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แม้โจทก์จะไม่ได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยไว้ โจทก์ก็มีสิทธิอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาที่ 79/22จำเลยให้การว่าโจทก์รับโอนเช็คโดยสุจริต ไม่บรรยายว่าไม่สุจริตอย่างไร ไม่เป็นข้อต่อสู้ที่ควรต้องสืบพยานตาม ป.พ.พ. ม.916 ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานเป็นการชี้ขาดเบื้องต้นตาม ม.24 โดยวินิจฉัยข้อ
กฎหมายไม่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยข้อเท็จจริงในคดี ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา คู่ความอุทธรณ์ได้โดยไม่ต้องโต้แย้งไว้ก่อน
คำพิพากษาที่782/2536การ ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจึงมีคำ สั่งให้งดสืบพยานแล้วฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญา และพิพากษายกฟ้องนั้น เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามมาตรา 227 โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโดยไม่ต้องโต้แย้งไว้ตามมาตรา 226
คำพิพากษาที่2158/2537 การ ที่ศาลชั้นต้นสอบถามข้อเท็จจริงจากคู่ความแล้วสั่งงดสืบพยานในวันนัดสืบพยาน โจทก์และพิพากษาคดีโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่ได้ความ ถือไม่ได้ว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อโจทก์เห็นว่าชอบที่จะมีการสืบพยานต่อไปก็ต้องโดยแย้งคำสั่งไว้มิฉะนั้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2)
คำพิพากษาที่2012/2542ก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์จำเลย ศาลได้สอบถาม
ข้อ เท็จจริงจากโจทก์จำเลยแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วและนัดฟังคำพิพากษา เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งก่อนศาลนั้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาด ตัดสินคดี จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) และมิใช่คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามมาตรา 24 ข้อ 1.คดีนี้ ศาลนัดสืบพยานโจทก์ในวันนี้ เวลา ........น. ดังความแจ้งอยู่ในสำนวนแล้วนั้น
ในวันนัดชี้สองสถานศาลได้กำหนดประเด็นเกี่ยวกับอำนาจฟ้องโจทก์ อันเป็นปัญหาข้อกฎหมายว่า คดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ จำเลยขอประทานกราบเป็นปัญหาข้อกฎหมายว่า คดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ จำเลยขอประทานกราบเรียนต่อศาลว่า จำเลยได้ให้การปฏิเสธไว้ตามคำให้การว่า ฟ้องของโจทก์ขาดอายุความ กล่าวคือ โจทก์ได้บรรยายตามฟ้องว่าจำเลยได้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คเอกสารท้ายฟ้อง หมายเลข 1 ลงวันที่..................และธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่ ....................... แต่โจทก์ได้นำเช็คฉบับดังกล่าวมาฟ้องจำเลยมาเป็นคดีนี้เมื่อวันที่........................ฉะนั้นโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขาดอายุความแล้ว
จาก คำฟ้องและคำให้การของจำเลยดังได้ประทานกราบเรียนต่อศาลแล้วข้างต้น หากศาลได้ทำการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายก่อนการพิจารณาใน ประเด็นข้อที่ว่า คดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ แล้วจะเป็นคุณแก่ฝ่ายจำเลย อีกทั้งจะทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องและไม่จำเป็นต้องพิจารณาคดีอีกต่อไป หรือไม่ต้องพิจารณาประเด็นสำคัญแห่งคดีข้ออื่นๆ หรือถึงแม้จะดำเนินการพิจารณาประเด็นข้อสำคัญเป็นคดีไป ก็ไม่ทำให้คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้
ฉะนั้น จึงขอศาลได้โปรดทำการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวว่า คดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว และได้โปรดมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ และให้โจทก์ชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนจำเลยด้วย
ขอศาลได้โปรดอนุญาต