Quantcast
Channel: ที่ ปรึกษา กฎหมาย ทนายความ สำนักงาน กฎหมาย กฎหมาย ในชีวิตประจำวัน กฎหมายคืออะไร ที่นี่มีคำตอบ
Viewing all articles
Browse latest Browse all 71

ทำอย่างไรจึงประสบความสำเร็จในวิชาชีพทนายความ

$
0
0

เรื่องของวิชาชีพ(Professional)
“ ทนายความ” นั้น ตามความคิดของคนโดยทั่วไปจะมีภาพรวมสรุปว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพในด้านค้าความ ทำหน้าที่ว่าต่างแก้ต่างคดีในศาลต่างๆ แทนตัวความ ซึ่งความเข้าใจอันนี้ไม่ผิดไปจากตัวความหมายของคำว่า“ ทนายความ”ในพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ดังนั้น บทบาทของทนายความจึงถูกจำกัดอยู่ในหน้าที่ที่แคบว่าทนายความในนานาประเทศ บนพื้นฐานเช่นนี้ทำให้วิชาชีพทนายความไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร ต่างกับประเทศในตะวันตกที่วิชาชีพทนายความนั้นนอกจากจะเป็นเรื่องของการว่าความในศ่ลแล้วยังรวมถึงการทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษากฎหมาย รวมตลอดถึงภาษีอากรและธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันด้วย ดังนั้น วิชาชีพทนายความจึงมีความหลากหลายและมีทางเลือกให้ทนายความที่มีความสามารถเด่นเฉพาะทางที่จะพัฒนาตนเองและให้บริการวิชาชีพในฐานะผู้เชี่ยวชาญในกฏหมายและธุรกิรในแต่ละแขนงได้


แต่การเป็นทนายความตามสถานภาพในสังคมไทยในปัจจุบันนั้นวนเวียนอยู่แต่เฉพาะในเรื่องของการว่าความเป็นส่วนใหญ่ การดำรงชีพในฐานะทนายความจึงมีข้อจำกัดอยู่แต่เฉพาะในเรื่องของความสามารถในการว่าความ การเตรียมคดีและการรวบรวมพยานหลักฐานสนับสนุนคำฟ้องหรือคำให้การของตนในคดี ชื่อเสียงและความก้าวหน้าในวิชาชีพจึงมีข้อจำกัดอยู่กับลักษณะและความสำคัญของประเภทคดีประกอบกับชื่องเสียงของทนายความที่ได้สร้างสมบารมีทีละเล็กละน้อยว่าทนายความผู้นั้นมีความเชี่ยวชาญในสาขาคดีปรปะเภทใด ตัวอย่างเช่น เป็นทนายความผู้เชี่ยวชาญคดีมรดกนั้นก็หมายถึงรู้เรื่องของการดำเนินคดีมรดก การแบ่งปันมรดก สิทธิของทายาทเป็นอย่างดี หรือถ้าเป็นทนายความที่เชี่ยวชาญในคดีอาญาก็อาจจะต้องแยกออกไปอีกว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของการทำคดีอาญาที่เกี่ยวกับการไม่ใช้เงินตามเช็ค

ความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาหาโอกาสขยายขอบเขตของวิชาชีพให้มากกว่าที่เป็นอยู่ จึงเป็นความสำคัญเบื้องต้นที่ทนายความจะต้องคิด และต้องเข้าใจให้เป็นที่ถ่องแท้ว่าวิชาชีพทนายความนั้น
(เช็คเด้ง) คดีอาญาที่เกี่ยวกับเรื่องความผิดต่อชีวิตร่างกายคดีอาญาที่เกี่ยวกับเรื่องยาเสพติด เป็นต้น ดังนั้นจีงเห็นได้ว่าขอบเขตของการทำงานในหน้าที่ทนายความในเมืองไทยนั้นแคบมาก ถ้าจะมีชื่องเสียงในเรื่องของการว่าความก็จะเป็นเรื่องเฉพาะตัวและจำกัดอยู่ในวงของคนที่รู้จักกันไม่มาก ไม่ว่าจะเป็นทั้งในส่วนกลางส่วนภูมิภาคและในแต่ละจังหวัด กรณีอย่างนี้จะถือว่ามีความมสำเร็จในวิชาชีพทนายควมก็คงจะนับได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น ถ้าหากจะเปรียบเทียบกับการประกอบวิชาชีพทนายความในต่างประเทศคงจะยังไม่ได้ เพราะความสันทัดจัดเจนในเรื่องของคดีความเฉพาะทางอาจจะยังไม่เพียงพอที่จะให้ทนายความนั้นสามารถดำรงชีพอยู่ได้ในสาขาที่ตนประกอบอาชีพอยู่จะต้องไม่อยู่ในวงจำกัดเฉพาะการว่าความอย่างเดียวจำเป็นต้องสร้างศักยภาพทางด้านอื่นซึ่งก็คือการเป็นที่ปรึกษากฎหมายให้ควบคู่กันไปให้จงได้

ความสำเร็จในวิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่งนั้นหากจะถือให้เป็นมาตรฐานได้นั้นก็ต้องเป็นเรื่องของการยอมรับโดยรวมของสังคมถึงความสามารถ ในตัวบุคคลของสาขาผู้ประกอบวิชาชีพนั้นๆ ว่าเป็นผู้ที่มีความเพรียบพร้อมไปด้วยความตั้งใจแน่วแน่มั่นคงในวิชาชีพ มีความรู้ประสบการณ์และมีความสามารถที่จะใช้วิชาชีพนั้นอย่างเป็นผู้มีคุณธรรม ซึ่งนอกจากจะทำประโยชน์ให้กับตนเองแล้วยังได้มีการอุทิศส่วนหนึ่งของการทำงานของตนให้กับสังคมด้วย
ดังนั้น ถ้าใช้มารตรฐานเช่นนี้มาปรับเข้ากับการประกอบวิชาชีพทนายความก็สามรถจะสรุปสาระสำคัญได้เป็นกรณีๆ ดังต่อไปนี้

ประการที่หนึ่ง
ผู้ที่จะก้าวเข้ามาเป็นทนายความและที่ปรึกษากฎหมายต้องมีความตั้งใจที่มั่งคงแน่วแน่ในความเชื่อหรืออย่างน้อยมีความศรัทธาต่อวิชาชีพทนายความที่ปรึกษากฎหมาย บางคนเข้าเรียนในโรงเรียนสอนกฎหมายคือในคณะนิติศาสตร์ของมหาลัยต่างๆ ในปัจจุบันนั้นโดยไม่ได้ตั้งใจที่จะเป็นผู้ใฝ่รู้ทางกฎหมายอย่างจริงจัง เพราะบางคนเลือกเรียนวิชานิติศาสตร์เป็นอันดับสุดท้ายหรือไม่รู้ว่าจะเรียนอะไรดีแล้วก็เลยเลือกเรียนวิชานิติศาสตร์หรือถูกบังคับให้เรียน ซึ่งผลจากการเลือกเรียนเช่นนี้ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่ามาตรฐานเบื้องต้นของการวัดความตั้งใจของตนเองและความเข้าใจที่จะเป็นนักกฎหมายมืออาชีพในอนาคตนั้น เพียงเริ่มต้นความคิดที่จะเรียนรู้กฎหมายให้จริงจังและจะใช้กฎหมายเป็นรากฐานของการประกอบสัมมาชีพจึงเกิดขึ้นได้ยากในบุคคลเหล่านี้ กรณีไม่จำเป็นเสมอไปที่ว่าบุตรของนักกฎหมายจะต้องเป็นนักกฎหมาย ถ้าหากเขาเหล่านั้นไม่ชอบหรือไม่รักที่จะเรียนรู้วิชากฎหมายก็ไม่มีปรปะโยชน์ ขณะเดียวกันถ้าหากว่าบทบาทของทนายความในปัจจุบันยังไม่เป็นที่ยอมรับถูกมองไปในทางลบเพราะคุณภาพของบริการวิชาชีพที่ทำไม่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนโดยรวมผลที่ได้ก็คือว่าความศรัทธาต่อวิชาชีพก็จะหย่อนยาน ทุกคนจะมองว่าการศึกษาวิชานิติศาสตร์เป็นเพียงทางผ่านเพื่อให้จบและรับปริญญานิติศาสตร์บัณฑิตเท่านั้น ต่อจากนั้นไปอาจจะไปเรียนทางมหาบัณฑิตด้านบริหารธุรกิจต่อตามความใฝ่ฝันของตัวเองก็ได้นี่คือเรื่องที่เกิดขึ้นจริงๆ ในขณะนี้จากประสบการณ์ของการสอบถามผู้ที่มาสมัครงาน ผู้ที่มาฝึกฝนอบรมเป็นทนายความ ผู้ที่ทำงานในธุรกิจอื่นแต่จบมาทางนิติศาสตร์ ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าประการสำคัญในเบื้องต้นก็คือว่าผู้ที่จะปรปะกอบวิชาชีพทนายความนั้นต้องเข้าใจขอบเขตและความสำคัญของวิชาชีพทนายความความที่ทีต่อตนเองและสังคมให้ถ่องแท้ ต้องศึกษาถึงประสบการณ์ของทนายความรุ่นก่อนที่ได้ประสบความสำเร็จในวิชาชีพว่าต้องฝ่าฝันอุปสรรคมาอย่างไรให้ดีที่สุด เพื่อที่จะให้ตนเองเข้าใจว่าได้รู้ภารกิจของวิชาชีพทนายความนี้ดีที่สุดแล้ว จึงตัดสินใจที่จะดำรงชีพของตนโดยใช้วิชาชีพนี้เป็นหลัก เมื่อทำใจได้เช่นนี้แล้วก็ต้องยึดถือเป็นหลักตลอดไป โดยเฉพาะจะต้องไม่หวั่นไหวต่อตำแหน่งหรือลาภยศอื่นนอกเหนือจากผลที่ได้จากการประกอบวิชาชีพกฎหมายรวมทั้งต้องไม่แสวงหาหรือทำกิจการอื่นจนเป็นเหตุให้การประกอบวิชาชีพกฎหมายนั้นตกเป็นรอง เช่นทำอาชีพนายหน้าประกันภัย ขายวัสดุก่อสร้าง จัดสรรที่ดิน เปิดร้านค้าขายของ เล่นหุ้น หรือเป็นนายหน้าค้าธุรกิจอื่นๆ การทำกิจการธุรกิจที่กล่าวมานี้ไม่ใช่เป็นของไม่ดี แต่แน่นอนจะให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดประสบความสำเร็จในวิถีชีวิตของการทำงานที่มีแนวทางต่างกันโดยพร้อมกันในหลายๆด้านนั้นคงจะเกิดขึ้นน้อยมาก ดังนั้น ถ้าใจไม่มั่นคงต่อวิชาชีพแล้ว อานุภาพของการใช้ความรู้ทางกฎหมายก็เริ่มหย่อนยาน เพราะจะต้องไปกังวลถึงธุรกิจอื่นที่ตนเองทำอยู่ว่ามันอาจจะขาดทุนหรือกำไรน้อยลงหรือหมดตัว เช่นในกรณีของการไปเล่นหุ้นคือไปลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ตรงนี้ต้องเข้าใจให้ดีว่าการลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์นั้นเป็นของถูกต้องเป็นของดี แต่ต้องทุ่มเทให้กับการศึกษาเรียนรู้ลู่ทางการลงทุนให้เต็ม
100 % จึงจะเข้าใจสภาพของตลาดทุนได้ถูกต้อง ดังนั้น ถ้าหากว่าส่วนหนึ่งของการทำงานมาประกอบวิชาชีพทนายความก็จะเกิดข้อขัดแย้งกันในเรื่องของการทำหน้าที่ศึกษาวิเคราะห์คดี ในขณะที่จิตใจส่วนหนึ่งยังห่วงอยู่ทุกวันเวลาที่ตลาดหุ้นเปิดทำการว่าหุ้นของตัวเองที่ซื้อไว้จะขึ้นหรือลง ความกังวลเช่นนี้ย่อมเป็ฯจุดเสื่อมของความคิด ทำให้ไม่มีเวลาที่จะตัดสินใจวินิจฉัยข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงให้รอบคอบ ทำให้เกิดข้อผิดพลาดและไม่สร้างความประทับใจให้กับผู้มาใช้บริการวิชาชีพทนายความแต่อย่างใด ดังนั้น ถ้าจะทำวิชาชีพอื่นควบคู่ไปด้วยต้องทำในสาขาที่เป็นกรณีสนับสนุนวิชาชีพทนายความ เช่น การสอนวิชากฎหมายในโรงเรียน สถาบันการศึกษาแขนงนิติศาสตร์ทุกแห่งเท่าทีจะมีโอกาสทำหรือการบรรยายกฎหมายให้แก่สมาคนธุรกิจ องศ์กรที่ได้รับเชิญเป็นครั้งเป็นคราว กรณีนี้เห็นได้ชัดเจนว่าจะเป็นเครื่องส่งเสริมและกระตุ้นให้ทนายความมีความใฝ่รู้ในหัวข้อที่จะเป็นผู้บรรยาย และทำให้มีความสามารถในการใช้กฎหมายในแต่ละเรื่องที่ได้รับเชิญมาดีขึ้นเรื่อยๆ ถ้าในหนึ่งปี ได้รับเชิญไปบรรยายถึงสิบครั้งก็ต้องยอมรับว่าความรู้สิบครั้งจาการบรรยายนั้นโดยเฉพาะถ้าหากเป็นหัวข้อที่แตกต่างกันก็จะเพิ่มพูนมากขึ้นเป็นทวีคูณ การใช้กฎหมายก็จะออกอรรถรสมีความสนุกและเป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองกับผู้ที่เข้ามารับฟังการยรรยาย ไม่ว่าจะเป็นเด็ก นักเรียน นักศึกษาหรือเพื่อนร่วมวิชาชีพหรือต่างวิชาชีพ ดังนั้นความจำเป็นที่ต้องตั้งใจให้แน่วแน่มั่นคงเช่นนี้จึงเป็นเรื่องที่ควรจะพึงถือปฎิบัติเป็นอย่างยิ่ง

ประการที่สอง
ต้องมีความขยันอย่างต่อเนื่องที่ยกเอาประเด็นข้อนี้มานำเสนอ ก็เพราะว่าผู้เขียนเองชอบคำพูดของประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมิกาคือท่านอับราฮัม ลินคอล์น ซึ่งพูดเกี่ยบกับวิชาชีพทนายไว้เป็นข้อความที่ทนายความทุกคนควรถือเป็นข้อถือปฎิบัติเป็นอย่างย่อ ท่านได้พูดไว้ดังนี้
 
 “The leading rule for the lawyer, as for the man of every calling, is diligence…leave nothing for tomorrow which can be done today…whatever piece of business you have in hand, before stopping, do all the labour pertaining to it which can be done…discourage litigation. Persuade your neighbours to compromise whenever you can…never stir up litigation…who can be more nearly a friend than hewho habitually overhauls the register of deeds in search of defects in titles, whereon to stir up strife and put money in his pocket… There is a vague popular belief that lawyers are necessarily dishonest…let no man choosing the law for calling for a moment yield to the popular belief-resolve to be honest at all events

ทนายความเฉกเช่นเดียวกับบุคคลในวิชาชีพอื่นๆ พึงมีหลักประจำใจอันสำคัญคือการมีความขยันหมั่นเพียร อย่าปล่อยสิ่งใดที่พึงกระทำในวันนี้ไว้ กระทำในวันรุ่งขึ้น ไม่ว่าท่านกำลังทำกิจการงานธุรกิจอันใดให้กระทำการทุกสิ่งที่พึงกระทำนั้นให้สำเร็จลงก่อนจะหยุดงานนั้น อย่าสนันสนุนให้เป็นคดีความ พยายามโน้มน้าวเพื่อนบ้านของท่านให้รู้จักการประนีประนอม เมื่อท่านสามารถทำได้ อย่ายุยงเกิดคดีความ คนที่เป็นคนเลวคือคนที่พยายามสำรวจตรวจตราทะเบียนและใบสำคัญต่างๆ เพียงเพื่อแสวงหาตำหนิหรือข้อผิดพลาดในเอกสารเหล่านั้นเพื่อก่อให้เกิดข้อพิพาทและแสวงหาเงินทองเข้ากระเป๋าตนเอง

คนทั่วไปมักเชื่อกันว่าทนายความเป็นคนไม่ซื่อสัตย์ ฉะนั้น บุคคลใดที่เลือกอาชีพทนายความแม้กระทั่งชั่วขณะหนึ่งขณะใดจะต้องไม่ปล่อยตนให้เป็นไปตามความเชื่อดังกล่าวนั้น จงเป็นคนซื่อสัตย์เสมอและตลอดเวลา ถ้าในขณะใดที่ท่านคิดว่าท่านไม่สามารถเป็นทนายความที่ซื่อสัตย์ได้แล้วพึงพิจารณาเลือกเป็นคนซื่อตรงโดยไม่จำเป็นต้องเป็นทนาย

and if in your judgment your cannot be an honest lawyer, resolve to be honest without being a lawyer.

”ถ้อยคำของท่านของท่านประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ข้างต้นถอดความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้”

จากคำเตือนที่ท่านประธานาธิบดี ลินคอล์นพูดไว้ข้างต้นจะเห็นได้ว่าวิชาชีพทนายความไม่มีวันหยุดนิ่ง ทนายความไม่ใช่บุคคลเดียวกันกับที่จบเป็นบัณฑิตทางนิติศาสตร์หรือรับใบอนุญาตว่าความในแต่ละรุ่นเช่นในเมืองไทยเท่านั้น ลองเทียบดูว่าในแต่ละรุ่นนั้นมีทนายความที่ใช้ชีวิตเป็นทนายความหรือที่ปรึกษากฎหมายร้อยละเท่าไร เมื่อพิจารณาดูแล้วตัวเลขที่หายไปนั้นน่าตกใจ เพราะที่เหลืออยู่เป็นทนายความที่แท้จริงอาจจะไม่ถึง30 % ทั้งนี้เพราะเหตุว่าการที่ต้องทำตนขยันศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้เป็นบุคคลากรที่มีความสามารถตอบสนองความต้องการของลูกความ ได้ในทุกสภาพนั้นเป็นเรื่องที่หลายคนอาจจะท้อแท้เพราะไม่รู้ว่าเมื่อไรจะหยุดเรียนหยุดศึกษากันสักที จะทำงานในอาชีพอื่นปกติที่เรียนที่เรียนแล้วจบหลักสูตรไม่ต้องเรียนต่ออีกได้หรือไม่ ซึ่งผู้เขียนก็เชื่อว่ามีน้อยที่แขนงวิชาอื่นจะไม่ศึกษาต่อ ยกเว้นบุคคลนั้นเลือกที่จะหยุดหาความรู้เพิ่มเติม แต่ในขณะวิชาชีพอิสระเช่นวิชาชีพทนายความนั้น การหยุดอยู่กับที่เท่ากับถอยหลังไปอีกเก้าหนึ่งเพราะคลื่นลูกใหม่ที่เป็นบัณฑิตใหม่ทางกฎหมายก็จะก้าวนำไปและก้าวต่อไป จนกระทั่งทิ้งผู้ที่หยุดอยู่กับที่ไว้ข้างหลัง ดังนั้น ภารกิจของทนายความในส่วนนี้ต้องไม่มีข้ออ้างในแขนงวิชาการที่ตนชอบ ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่อาจรับฟังได้เลย

ประการที่สาม

อย่างไรก็ดี สภาพของการเป็นผู้นำในกระบวนการยุติธรรมนั้น สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับกันและหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือความซื่อสัตย์ หากปราศจากซึ่งความซื่อสัตย์เสียแล้วทุกอย่างก็หมดความหมาย มีทนายความหลายคนที่ไม่อาจก้าวสู่ความสำเร็จในชีวิตทนายความเพราะเห็นแก่อามิสสินจ้างเล็กๆน้อยๆ เห็นแก่การเบียดเบียนทรัพย์ของลูกความเพียงจำนวนไม่เท่าไรก็เป็นผลให้ต้องถูกร้องเรียน ศรัทธาและความเชื่อถือตรงนี้จึงขึ้นอยู่กับข้อถือปฏิบัติของทนายความแต่ละคนแต่ละสำนักงานเป็นสำคัญ โดยเฉพาะทนายความที่ได้รับความไว้วางใจมอบหมายให้เป็นผู้ถือเงินของลูกความซึ่งประเพณีในระบบของการใช้บริการทางกฎหมายของประเทศตะวันตก ทนายความจะมีบัญชีที่เรียกว่า
ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพกฎหมาย นอกจากจะมีความตั้งใจแน่วแน่ในประการแรกแล้ว เรื่องสำคัญที่รวมพูดอยู่ในประการที่สองด้วยก็คือเรื่องความซื่อสัตย์ ดังคำพูดของท่านประธานาธิบดีอับราฮับ ลินคอล์น ซึ่งมีความหมายอย่างมากต่อการดำรงตนในฐานะเป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระในประเทศสหรัฐอเมริกาการใช้ทนายความอาจจะเกือบเรียกได้ว่าเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวันของคนอเมริกันทุกคน แม้จะมีคำเสียดสีวิชาชีพทนายความในสหรัฐอเมริกาในแง่ลบในหลายๆประการ สิ่งหนึ่งที่ทนายความส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกาได้รับความนิยมก็คือความสื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ กล่าวคือมีการยอมรับทั่วไปว่าเป็นทนายความโดยวิชาชีพที่แท้จริง โดยเฉพาะในด้านของความซื่อสัตย์ต่อลูกความ ต่อกระบวนการยุติธรรมและทำหน้าที่ช่วยผดุงความยุติธรรมได้เป็นอย่างดี มีคำกล่าวกันว่าในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นทนายความเป็นผู้ควบคุมกฎกติกาของสังคม แม้หลายๆคนจะไม่ชอบวิชาชีพทนายความโดยมุมมองที่มีไปในทางลบ ในทำนองเดียวกับที่เป็นอยู่ในประเทศไทย แต่เนื่องจากความเป็นผู้ใช้กฎหมายในระบอบสังคมที่เปิดกว้างอย่างสหรัฐอเมริกาจึงพูดได้ว่า เขาเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์หรือบรรทัดฐานของสังคมหรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นผู้ควบคุมวินัยของสังคมตั้งแต่ประธานาธิบดีลงมาจนถึงประชาชนทุกหมู่เหล่า แน่นอนระบอบสังคมและกฎหมายที่แตกต่างย่อมจะนำมาเปรียบเทียบกับของไทยไม่ได้Trust Account ของลูกความไว้ ทนายความจะเป็นผู้เบิกจ่ายบัญชีนั้นด้วยตนเอง ทำรายรับ รายจ่าย และแจ้งให้ลูกความทราบถึงสถานะการเงินเป็นประจำเป็นรายเดือนหรือรอบสามเดือน ทนายความกับบัญชีของตัวความจึงต้องมีความละเอียดและโปร่งใสอยู่เสมอ แต่ก็มีทนายความบางรายนำเงินดังกล่าวโอนไปเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ เป็นดอกเบี้ยของตนเองซึ่งได้มีการร้องเรียนและถูกลงโทษในระบบของคดีมรรยาททนายความ แต่การรับเงินเข้าบัญชีนั้นยังเกิดน้อยมากในเมืองไทย เพราะลูกความจะไม่ส่งเงินจำนวนมากมาฝากไว้ในบัญชี Trust Account กับทนายความ หรือเพื่อรอที่จะชำระเงินตามข้อตกลงในคดีกรณีเช่นนี้ยังไม่อาจนำมาใช้ในเมืองไทยให้เป็นที่แพร่หลายได้ ยกเว้นในสำนักงานทนายความที่ให้คำปรึกษากฎหมายกับบริษัทในเครือของประเทศเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุนข้ามชาติ การซื้อกิจการ การควบกิจการก็ดี ทนายความจะเป็นผู้ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้รักษาเงินของลูกความที่โอนมาจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก บางครั้งจำนวนหลายสิบล้านบาทและหลานร้อยล้านบาท ถ้าทนายความสามารถแสดงศักยภาพและได้รับความไว้วางใจจนถึงระดับที่ลูกความโอนเงินมาให้ในบัญชี
Trust Account ของทนายความแล้ว ก็ย่อมเป็นประจักษ์พนฃยานอย่างหนึ่งว่าในเรื่องของความซื่อสัตย์ความโปร่งใสของบุคคลผู้เป็นทนายความหรือของสำนักงานดังกล่าวก็จะต้องจัดเตรียมบัญชี รวมทั้งจะต้องไม่ดำเนินการโอนย้ายเงินในบัญชีไปฝากที่บัญชีอื่นที่ดอกเบี้ยมากกว่าแล้วถึงโอนกลับเมื่อเวลาจะต้องใช้เงิน จะต้องไม่แสดงถึงควมเคลื่อนไหวของเงินที่ผิดปกติของในบัญชีของตน ซึ่งความเคลื่อนไหวนั้นจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากลูกความเท่านั้น ดังนั้น ข้อถือปฏิบัติในเรื่องของความซื่อสัตย์จึงเสมือนหนึ่งเป็นหนังสือรับรองที่ดีและย่อมเป็นที่ภาคภูมิใจของทนายความและของสำนักงาน ถ้าหากไม่ซื่อสัตย์เสียแล้วก็ต้องไปพิจารณาตนเองตามคำพูดของประธานธิบดีอับราฮัม ลินคอล์นในข้อสอง

ประการที่สี่
จะต้องมีความอดทน ทนายความนั้นไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของการรับเป็นที่ปรึกษารับเป็นทนายความเกือบทุกเรื่องและแก่บุคคลทุกประเภท ซึ่งเป็นข้อถือปฏิบัติโดยทั่วไปของทนายความในบ้านเรา ยกเว้นทนายความบางคนที่สามารถจะเลือกและรับทำคดีเฉพาะที่ตนเองถนัดได้ซึ่งย่อมหมายถึงว่าทนายความท่านนั้นมีชื่อเสียงและประสบการณ์ในคดีเฉพาะทางนั้นเป็นที่ไว้วางใจของสังคมหรือชุมชนในท้องที่นั้นแล้ว และสามารถดำรงชีพอยู่ได้โดยอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะทางนั้น แต่ทนายความส่วนใหญ่แล้วจำเป็นต้องขวนขวาย รีบรับเรื่องราวทุกเรื่องโดยไม่มีข้อจำกัด ดังนั้น การที่ต้องฝึกฝนตนองที่ต้องอาศัยควมอดทนค่อนข้างสูง ต้องมีความมานะบากบั่นที่จะค้นคว้าหาความรู้ รวมทั้งในประการสำคัญคือจะต้องอดทนอดกลั้นต่อความรู้สึกของลูกความ ไม่ว่าตัวความหรือลูกความนั้นจะอยู่ในสภาวะใด สิ่งที่ลูกความต้องการที่สำคัญคือกำลังใจจากทนายความ บางครั้งต้องมีการอธิบายข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่ยืดยาวบางครั้งอาจจะต้องรวบรัดให้สั้นลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของคดีตัวความและความสนใจของตัวความ ตัวความบางคนอาจเป็นคนที่ใจร้อนอาจจะคิดว่าประสบการณ์ในเรื่องธุรกิจในวิชาชีพอื่นนั้นมีความสันทัดจัดเจนกว่าทนายความและพยายามที่จะสอนเทคนิคต่างๆ ซึ่งบางครั้งในวิชาชีพทนายความก็ไม่มีความจำเป็นหรือเป็นเรื่องที่ทำให้เสียโอกาสถ้าจะปล่อยให้ตัวความอธิบายเช่นนั้นหรือทำสัญญาไปในรูปนั้น บางครั้งไม่เข้าใจหรือยากทีจะอธิบายข้อกฎหมายให้กับตัวความในระยะเวลาสั้นก็ไม่อาจจะทำได้ ในกรณีเช่นว่านี้จึงจำเป็นที่ต้องใช้เวลาใช้ความอดทนที่ต้องให้ลูกความนั้นเข้าใจถึงระบบวิธีการตามกฎหมาย บางครั้งความใจเร็วด่วนได้ของลูกความก็อาจจะทำให้คดีหรือการเจรจาความเสียไป ทนายความจึงต้องเป็นผู้ที่สุขุมเยือกเย็นพอสมควรในบางสภาวะ ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของการประกอบวิชาชีพจะต้องเป็นผู้รับฟังที่ดี และหลีกเลี่ยงการเป็นปากเสียงกับลูกความให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แน่นอนในการทำงานนั้นย่อมมีทั้งคนดีและคนไม่ดีที่จะต้องพบพาเสมอ และถึงแม้ลูกความจะเป็นคนที่อาจจะเรียกได้ว่านิสัยรับไม่ได้เลยนั้นก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องของโชค ซึ่งทนายความไม่อาจเลือกได้ ความอดทนสำคัญอีกประการหนึ่งคือการดำรงตนในอาชีพทนายความที่ในระยะแรกอาจมีรายได้น้อย ดูแล้วไม่คุ้มกับคุณภาพของงานที่ทำหรือถ้าไปเทียบกับอาชีพอื่นที่จบการศึกษารุ่นราวคราวเดียวกัน รายได้ของทนายความดูจะน้อยและต่ำกว่าอยู่มาก ซึ่งกรณีนี้ถือว่าเป็นเรื่องปกติต้องยอมรับว่าในการฝึกฝนวิชาชีพนั้นไม่ว่าจะเป็นแพทย์ วิศวกร หรือสถาปนิก ในช่วงเริ่มต้นก็จะเป็นลูกมือเป็นแพทย์ฝึกหัด เป็นวิศวกรฝึกหัด เป็นสถาปนิกฝึกหัดและทนายความฝึกหัดกับรุ่นพี่จนตนเองมีความมั่นใจในการประกอบอาชีพโดยลำพังแน่นอนแล้ว จึงจะขยับขยายและเมื่อถึงจุดนั้นรายได้ของทนายความก็จะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะค่าวิชาชีนั้นไม่มีขั้นตอนกำหนด ขึ้นอยู่กับความสามรถของทนายความเป็นสำคัญ ดังนั้น ถ้าหากว่าทนายความจะฝึกฝนทำตนเองให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ย่อมเป็นของแน่นอนที่ทนายความจะมีความก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ สามารถใช้ประสบการณ์ใช้กฎหมายได้อย่างคล่องตัว สามารถชี้แจงทำความเข้าใจให้กับลูกความที่มาพบหา สนทนาปรึกษาด้วยเสมือนหนึ่งเป็นญาติผู้ใกล้ชิด ซึ่งคุณลักษณะเช่นนี้ย่อมจำเป็นต้องมีในอาชีพทนายความ ซึ่งพฤติกรรมของลูกความที่ทนายความต้องพบลักษณะของคดีที่จะต้องค้นคว้าการติดต่อกับบุคคลในอีกหลายแห่ง หลายสถานจำเป็นที่ต้องมีการฝึกฝนตนให้มีความแจ่มใสและมีความสุขกับการทำงานในหน้าที่ทนายความอย่างเสมอต้นเสมอปลายและในทุกสถานะการณ์

ประการที่ห้า
ต้องแบ่งปันและให้บริการแก่สังคม เป็นกรณีที่ทนายความต้องเป็นคนที่ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และอุทิศตนให้สังคมเมื่อมีโอกาศทุกครั้ง บางท่านสำเร็จการศึกษาประกอบอาชีพทนายความมานานนับสิบปีแล้วไม่รู้จักใครเลย นอกจากลูกความของตนเองไม่เคยติดต่อพบปะเพื่อนร่วมวิชาชีพ ยกเว้นที่จะพบกันในศาลหรือในการเจรจาความถือความสันโดษเป็นที่ตั้ง ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นผู้ที่ได้ใช้วิชาชีพช่วยเหลือสังคม ถึงแม้จะปฏิบัติตัวดีต่อลูกความแต่การบริการต่อชุมชนโดยเฉพาะการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายเป็นสิ่งหนึ่งที่ไม่อาจจะแยกไปจากการประกอบอาชีพทนายความตามปกติได้ทั้งนี้เพราะการเสนอตัวรับใช้สังคมนั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นกรณีที่จะต้องบริจาคเงินหรือทรัพย์สินเหมือนเช่นในกรณีอื่น ทนายความยังสามารถที่อุทิศตนเป็นผู้บรรยาย เป็นอาจารย์สอนในสถาบันต่างๆที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพกฎหมาย รวมตลอดถึงวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายเท่าที่ตนจะสามารถกระทำได้ด้วย การอุทิศตนเช่นว่านี้ย่อมจะเป็นกุศลให้แก่ทนายความผู้นั้นและในขณะ เดียวกันทำให้ตนเองได้เรียนรู้จากบรรดาผู้ที่เข้าฟังบรรยายไม่ว่าจะเป็นนัก เรียนนักศึกษาหรือผู้ฟังจากชุมชนใดทั้งจะเป็นการเสริมสร้างกำลังใจให้มี วิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มีความโอบอ้อมอารีต่อผู้ที่มีโอกาสน้อยกว่า ทนายความจึงต้องไม่ใช่คนที่ฉวยโอกาสรับเรื่องราวหรือคดีที่มีประโยชน์ต่อตน เองฝ่ายเดียว ในบางครั้งถ้าเป็นคดีที่ผู้ยากจนต้องใช้บริการก็จำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือ ด้วย การร่วมทำกิจกรรมในองค์กรก็ยังเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้มีความเข้าใจและได้ สาระประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะการฝึกฝนอบรมการบรรยายนั้นนอกเหนือจากจะเป็นผู้มีใจกุศลแล้วยัง สร้างความมั่ยใจในวิชาชีพและสร้างประสบการณ์ให้กับการเสนอความเห็นต่อสาธารณ ชนและต่อตัวความ ซึ่งถือได้ว่าเป็นประโยชน์ทางอ้อมที่ได้มาโดยการอุทิศตนต่อสังคมนั่นเอง

ประการสุดท้าย
ก็คือการเป็นผู้มีความมัธยัสถ์ ทนายความนั้นไม่อาจจะตั้งปณิธานได้ ว่าเป็นทนายความเงินล้าน ทนายความเงินหนึ่งร้อยล้าน เมื่อข้าพเจ้าอายุเท่านั้นเท่านี้ควรจะมีรถยนต์ยี่ห้อนั้นยี่ห้อนี้หรือมี บ้านหลังใหญ่ในทำนองเดียวกับธุรกิจแขนงอื่น เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเข้าใจ เพราะไม่สามารถที่จะกำหนดเวลาหรือย่นระยะเวลาให้สั้นได้ถึงความสำเร็จที่จะ วัดกันเป็นคุณค่าของวัตถุได้ วึ่งแน่นอนเป็นเครื่องบ่งบอกแสดงถึงทางที่มั่นคงในสังคม แต่ทนายความที่ตลอดชีวิตประกอบอาชีพทนายความอย่างเดียวนั้นคงเป็นเศรษฐีไม่ ได้ ความเป็นทนาย ความนั้นความสุขและความร่ำรวยที่ได้คือน้ำใจที่ตนเองได้อุทิศงานและเวลาให้ แก่สังคม ทนายความจึงไม่สามารถจะดำรงในลักษณะที่คิดเงินทุกบาททุกสตางค์ได้ตลอดเวลา การมีความมัธยัสถ์ที่ดีของทนายความจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นเพราะจะสร้างความ มั่นคงให้กับทนายความในระยะยาว โดย เฉพาะรายได้ของบทนายความนั้นส่วนใหญ่แล้วจะไม่แน่นอนหากทนายความไม่รู้จัก ประหยัดอดออม หรือในทางตรงกันข้ามเป็นนักเล่นหวยรวยไปก็เป็นที่เชื่อแน่ได้ว่าอนาคตใน วิชาชีพทนายความนั้นคงจะสั้นลงเป็นลำดับ เพราะไม่มีทนายความคนไหนที่จะยืนหยัดได้ในสภาพของสถานะการเงินที่ง่อนแง่น ทั้งนี้การมัธยัสถ์ก็คงไม่ใช่ที่จะประหยัดมากเกินไปเพราะไม่เกิดประโยชน์แก่ ทนายความเอง ในด้านของการพัฒนาและการเข้าสังคมทนายความจำเป็นต้องดำรงตนให้อยู่ในความพอ ดีท่ามกลางความผันผวน หรือความไม่แน่นอนของการหารายได้ จำเป็นต้องเป็นผู้วางแผนรายรับที่เหมาะสมให้ได้ตลอดทั้งปีของการทำงานต้อง เป็นผู้ที่รักความก้าวหน้าในการพัฒนาวิชาชีพ ขยายขอบเขตของการบริการวิชาชีพของตนให้กว้างขวางขึ้นเพื่อจะสร้างความมั่นคง ให้กับรายได้ที่โดยปกติจะเพิ่มพูนตามความสามารถของทนายความ



อ.เดชอุดม ไกรฤทธิ์

Viewing all articles
Browse latest Browse all 71

Trending Articles