Quantcast
Channel: ที่ ปรึกษา กฎหมาย ทนายความ สำนักงาน กฎหมาย กฎหมาย ในชีวิตประจำวัน กฎหมายคืออะไร ที่นี่มีคำตอบ
Viewing all articles
Browse latest Browse all 71

ควบคุมตัวเกิน 48 ชม.แล้วไม่ฝากขังต่อศาล ยังฟ้องได้อยู่

$
0
0
กฎหมายกำหนดให้พนักงาน สอบสวนสามารถควบคุมตัวผู้ต้องหาได้เพียง 48 ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับมาที่สถานีตำรวจหรือที่ทำการอื่นของ พนักงานสอบสวนเท่านั้น เว้นเสียแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอย่างอื่นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ พนักงานสอบสวนก็สามารถควบคุมตัวผู้ต้องหาได้นานกว่านั้น แต่ถ้าไม่มีเหตุดังกล่าวและคงวคุมตัวผู้ต้องหาเกิน 48 ชั่วโมงแล้ว ก็ต้องปล่อยตัวผู้ต้องหาไป
ขอบคุณภาพจาพชก ขังแปด

แต่ถ้าพนักงานสอบสวนเห็นว่าควรควบคุมตัว ผู้ต้องหาไว้ก่อนเพื่อการสอบสวนและไม่ควรให้ผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่ว คราวหรือประกันตัวออกไป พนักงานสอบสวนก็ต้องยื่นคำร้องต่อศาลขอหมายขังผู้ต้องหานั้นไว้หรือเรียกว่า การฝากขังนั่นเอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 87ห้ามมิให้ควบคุมผู้ถูกจับไว้เกินกว่าจำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดี
ในกรณีความผิดลหุโทษ จะควบคุมผู้ถูกจับไว้ได้เท่าเวลาที่จะถามคำให้การ และที่จะรู้ตัวว่าเป็นใครและที่อยู่ของเขาอยู่ที่ไหนเท่านั้น
ในกรณีที่ผู้ถูกจับไม่ได้รับการปล่อยชั่ว คราว และมีเหตุจำเป็นเพื่อทำการสอบสวน หรือการฟ้องคดี ให้นำตัวผู้ถูกจับไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ถูกจับถูกนำ ตัวไปถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๘๓ เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ โดยให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลขอหมายขังผู้ต้องหา นั้นไว้ ให้ศาลสอบถามผู้ต้องหาว่าจะมีข้อคัดค้านประการใดหรือไม่ และศาลอาจเรียกพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการมาชี้แจงเหตุจำเป็น หรืออาจเรียกพยานหลักฐานมาเพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้
ในกรณีความผิดอาญาที่ได้กระทำลงมีอัตราโทษ จำคุกอย่างสูงไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลมีอำนาจสั่งขังได้ครั้งเดียว มีกำหนดไม่เกินเจ็ดวัน
ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่าง สูงเกินกว่าหกเดือนแต่ไม่ถึงสิบปี หรือปรับเกินกว่าห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลมีอำนาจสั่งขังหลายครั้งติดๆ กันได้ แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกินสิบสองวัน และรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกินสี่สิบแปดวัน
ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่าง สูงตั้งแต่สิบปีขึ้นไป จะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม ศาลมีอำนาจสั่งขังหลายครั้งติดๆ กันได้ แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกินสิบสองวัน และรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกินแปดสิบสี่วัน
ในกรณีตามวรรคหกเมื่อศาลสั่งขังครบสี่สิบ แปดวันแล้ว หากพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอขังต่อไปอีกโดย อ้างเหตุจำเป็น ศาลจะสั่งขังต่อไปได้ก็ต่อเมื่อพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนได้แสดงถึง เหตุจำเป็น และนำพยานหลักฐานมาให้ศาลไต่สวนจนเป็นที่พอใจแก่ศาล
ในการไต่สวนตามวรรคสามและวรรคเจ็ด ผู้ต้องหามีสิทธิแต่งทนายความเพื่อแถลงข้อคัดค้านและซักถามพยาน ถ้าผู้ต้องหาไม่มีทนายความเนื่องจากยังไม่ได้มีการปฏิบัติตามมาตรา ๑๓๔/๑ และผู้ต้องหาร้องขอ ให้ศาลตั้งทนายความให้ โดยทนายความนั้นมีสิทธิได้รับเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๓๔/๑ วรรคสาม โดยอนุโลม
ถ้าพนักงานสอบสวนต้องไปทำการสอบสวนในท้อง ที่อื่นนอกเขตของศาลซึ่งได้สั่งขังผู้ต้องหาไว้ พนักงานสอบสวนจะยื่นคำร้องขอให้โอนการขังไปยังศาลในท้องที่ที่จะต้องไปทำการ สอบสวนนั้นก็ได้ เมื่อศาลที่สั่งขังไว้เห็นเป็นการสมควรก็ให้สั่งโอนไป

ดังนั้น หากพนักงานสอบสวนมิได้ดำเนินการฝากขังต่อศาลเมื่อพ้นกำหนดการควบคุมตัวผู้ ต้องหาแล้ว พนักงานสอบสวนก็ต้องปล่อยตัวผู้ต้องหาไป แต่การที่มิได้ดำเนินการฝากขังผู้ต้องหาต่อศาลดังกล่าว พนักงานอัยการยังมีอำนาจฟ้องผู้ต้องหารายนั้นเป็นคดีอาญาได้อยู่ เพราะไม่ได้ทำให้การสอบสวนของพนักงานสอบสวนเสียไปหรือไม่ชอบแต่อย่างใด
คำพิพากษาฎีกาที่ 4294/2550การควบคุมตัวจำเลยที่ 1 ในชั้นสอบสวน ซึ่งพนักงานสอบสวนจะต้องขออำนาจศาลฝากขังจำเลยที่ 1 หาก พนักงานสอบสวนมิได้ขอฝากขังต่อศาลภายในกำหนด เมื่อพ้นอำนาจการควบคุมตัวผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนต้องปล่อยตัวผู้ต้องหาไป หาใช่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายในอายุความ โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีอาญามาฟ้องได้

Viewing all articles
Browse latest Browse all 71

Trending Articles